สื่อการเรียนการสอน


สื่อการเรียนการสอน

กระบวนการเรียนการสอนมีลักษณะเช่นเดียวกับกระบวนการสื่อสาร (Communication Process) ที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระจากฝ่ายส่งไปยังฝ่ายรับ และการสื่อสารที่ดีนั้นควรจะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยสื่อที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารกันได้ใน 2 ทิศทางด้วย เช่น โทรศัพท์ E-mail การประชุม การอภิปรายและการบรรยาย เป็นต้น แต่ถ้าสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่อำนวยให้โต้ตอบกันได้ ก็จะเกิดการติดต่อสื่อสารในลักษณะที่เรียกว่าการ สื่อสารแบบ ทางเดียว (One-way communication) ซึ่งสื่อที่ใช้ในการติดต่อกันได้แก่ หนังสือพิมพ์
แผ่นพับ โปสเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ และการบรรยายเป็นต้น
ในกระบวนการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา เราใช้การติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ลักษณะดังกล่าวควบคู่กันไป ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การสอน เนื้อหาและวิธีการสอนในแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้รับความรู้และประสบการณ์ ในสาขาวิชาที่เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรจะมีลักษณะที่เป็นการสื่อสารแบบสองทาง ดังนี้





จะเห็นได้ว่า ทั้งกระบวนการสื่อสารและกระบวนการเรียนการสอน จำเป็น ต้องอาศัยสื่อในการถ่ายทอดหรือติดต่อกันระหว่างบุคคล ถ้าขาดสื่อแล้ว การติดต่อกันหรือการเรียนการสอนไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย


ความหมายของสื่อการเรียนการสอน

สื่อนับเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสอนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ตรงกับผู้สอนต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น และคำว่า สื่อ (medium, pl. media) เป็นคำมาจากภาษาลาตินว่า “ระหว่าง” สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูล ส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับ


ไพศาล สุวรรณน้อย, สื่อการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา, [Online], 1 กันยายน 2553.แหล่งที่มา http://ednet.kku.ac.th/~paisan/media/edmedia.doc



เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์

ในการเล่าเรียน เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า “สื่อการสอน” และเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้เรียกว่า “สื่อการเรียน” โดยเรียกรวมกันว่า “สื่อการเรียนการสอน” หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า “สื่อการสอน” หมายถึงสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ แผนภูมิ แผ่นซีดีสำเร็จรูป รูปภาพ ฯลฯ ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน หรือเป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางทำให้การสอนส่งไปถึงผู้เรียน สื่อการสอนถือว่ามีบทบาทมากในการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ในการใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยต้องการวางแผนอย่างเป็นระบบ


กิดานันท์ มลิทอง, สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (ตอนที่ ๒) [Online], 6 กันยายน 2553, แหล่งที่มา http://gotoknow.org/blog/kriang/382858


ในการใช้สื่อด้วย ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียน การสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

สื่อต่างๆ ที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศจากผู้สอนไปยังผู้เรียน หรือเป็นสิ่งที่ผู้เรียนใช้ศึกษาความรู้ด้วยตนเอง นักวิชาการได้จำแนกสื่อการสอนตามประเภท ลักษณะและวิธีการใช้ดังนี้


สื่อโสตทัศน์

เป็นสื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนการสอน โดยเป็นสื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ สื่อที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม เช่น หนังสือตำราเรียน ภาพ ของจริง ของจำลอง จะเป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในตัวเอง ต่อมามีการใช้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการถ่ายทอดเนื้อหา และวัสดุที่ใช้กับอุปกรณ์เหล่านี้ โรเบิร์ต อี. เดอ คีฟเฟอร์ (Robert E. de Kieffer) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะที่ใช้สื่อความหมายทางเสียงและภาพรวมเรียกว่า “สื่อโสตทัศน์” (audiovisual materials) ในปัจจุบันมีสื่อโสตเพิ่มขึ้นมากจากที่เดอ คีฟเฟอร์ ได้กล่าวไว้ทั้ง 3 ประเภท ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างสื่อใหม่ในแต่ละประเภทดังนี้
1. สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (no projected materials) เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้องใช้เครื่องฉายร่วมด้วย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่สื่อภาพ (illustrative materials) เป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา เช่น ภาพกราฟิก กราฟ แผนที่ ของจริง ของจำลอง กระดานสาธิต (demonstration boards) ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เช่นกระดานชอล์ก กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก กระดานผ้าสำลี ฯลฯ และกิจกรรม (activates)
2. สื่อเครื่องฉาย (projected and equipment) เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอเช่นเครื่องฉายข้ามศีรษะใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์ หรือให้ทั้งภาพและเสียง เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ฟิล์ม เครื่องเล่นดีวีดีใช้กับวีซีดีและดีวีดี เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจรวมเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ คือ เครื่องแอลซีดีที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นวีซีดีเข้าไว้ในเครื่องด้วย เพื่อนำสัญญาณภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจอภาพ
3. สื่อเสียง (audio materials and equipment) เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับอุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน เช่น เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี เครื่องเล่น/ บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงดังเช่นวิทยุที่รับสัญญาณเสียงจากแหล่งส่งโดยไม่ต้องใช้วัสดุใดๆในการนำเสนอเสียง


สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้



การแบ่งประเภทของสื่อการสอนตามระดับประสบการณ์ของผู้เรียน ซึ่ง เดล (Edgar Dale 1969 : 107) ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์ การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาแนวความคิดของ Bruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา จนได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 10 ประเภท ซึ่งพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อ การสอนประเภทนั้น และยึดเอาความเป็นรูปธรรมและนามธรรมเป็นหลักในการแบ่งประเภท และได้เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมที่สุดจนถึงประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมที่สุด (Abstract Concrete Continuum) เรียกว่า “กรวยประสบการณ์” (Cone of Experience) ดังรูปที่ 14 .







รูปที่ 14 แสดงกรวยประสบการณ์ของ เอ็ดการ์ เดล



ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย (Direct Purposeful Experience) เป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งปวง เพราะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้เห็น ได้ยินเสียง ได้สัมผัสด้วยตนเอง เช่น การเรียนจากของจริง (Real object) ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนด้วยการลงมือกระทำ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง (Contrived Simulation Experience) จากข้อจำกัด ที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนจากประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียนได้ เช่น ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตราย จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของตัวอย่าง (Specimen) เป็นต้น
ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experience) เป็นประสบการณ์ที่ จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว หรือเป็นนามธรรมที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจและ ไม่สามารถใช้ประสบการณ์จำลองได้ เช่น การละเล่นพื้นเมือง ประเพณีต่างๆ เป็นต้น
ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) คือการอธิบายข้อเท็จจริง ความจริงและกระบวนการที่สำคัญ ด้วยการแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนตร์ สไลด์และฟิล์มสตริป แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้
ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน ได้แก่ การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ เช่น โบราณสถาน โรงงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น
ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition) คือ การจัดแสดงสิ่งต่างๆ รวมทั้งมีการสาธิต และการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน ได้แก่ การจัดป้ายนิทรรศการ การจัดแสดงผลงานนักเรียน
ขั้นที่ 7 ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ (Motion Picture and Television) ผู้เรียนได้เรียนด้วยการเห็นและได้ยินเสียงเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆ ได้มองเห็นภาพในลักษณะการเคลื่อนไหวเหมือนจริงไปพร้อมๆ กัน
ขั้นที่ 8 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง (Recording, Radio and Picture) ได้แก่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง วิทยุ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง ส่วนภาพนิ่ง ได้แก่รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead projector) สไลด์ (Slide) ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์ และภาพบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง (Overhead projector)
ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbol) มีความเป็นนามธรรมสูง จำเป็น ที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐานในการเลือกนำไปใช้ สื่อเหล่านี้คือ แผนภูมิ แผนสถิติ ภาพโฆษณา การ์ตูน แผนที่ และสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่างวจนสัญลักษณ์กับของจริง ได้แก่ การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด
การใช้กรวยประสบการณ์ของเดล จะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบการณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น



นอกจากนี้ เจโรม บรูเนอร์ (Jerome Bruner : 22-28) ได้ออกแบบโครงสร้างของกิจกรรมการสอนไว้ รูปแบบหนึ่ง โดยประกอบด้วยมโนทัศน์ด้านการกระทำโดยตรง (Enactive) การเรียนรู้ด้วยภาพ (Iconic) และการเรียนรู้ด้วยนามธรรม (Abstract) เมื่อเปรียบเทียบกับกรวยประสบการณ์ของเดลกับลักษณะสำคัญ 3 ประการของการเรียนรู้ของ บรูนเนอร์แล้ว จะเห็นว่า มีลักษณะใกล้เคียงและเป็นคู่ขนานกัน ดังแสดงให้เห็น การเปรียบเทียบ ในรูปที่ 15







รูปที่ 15 โครงสร้างของกิจกรรมการสอนตามแนวคิดของบรูนเนอร์


สื่อแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้

ทรัพยากร หมายถึงสิ่งทั้งปวงที่มีค่า ทรัพยากรการเรียนรู้ (learning resources) จึงหมายถึงทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือสิ่งที่คนประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการเรียนรู้ โดนัลด์ พี. อีลี (Donald P. Ely, 1972 : 36:42) ได้จำแนกสื่อการเรียนการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้ 5 รูปแบบ โดยแบ่งได้เป็นสื่อที่ออกแบบขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (by design) และสื่อที่มีอยู่ทั่วไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่
1. คน (People) “คน” ในทางการศึกษาโดยตรงนั้น หมายถึง บุคคลที่อยู่ในระบบของโรงเรียน ได้แก่ ครู ผู้บริหาร ผู้แนะนำการศึกษา ผู้ช่วยสอนหรือผู้ที่อำนวยความสะดวกด้านต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ส่วน “คน” ตามความหมายของการประยุกต์ใช้ ได้แก่คนที่ทำงานหรือมีความชำนาญงานในแต่ละสาขาซึ่งมีอยู่ในวงสังคมทั่วไป คนเหล่านี้เป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” ซึ่งถึงแม้มิใช่นักศึกษาแต่สามารถจะช่วยความสะดวกหรือเชิญมาเป็นวิทยาการเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้ในการให้ความรู้แต่ละด้าน อาทิเช่น ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ช่างซ่อมเครื่อง
2. วัสดุ (Materials) ในการศึกษาโดยตรงเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียน โดยรูปแบบของวัสดุมิใช่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เช่น หนังสือ สไลด์ แผนที่ แผ่นซีดี หรือสื่อต่างๆ ที่เป็นทรัพยากรในการเรียนการสอนนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับวัสดุที่ใช้ในการศึกษาดังกล่าว เพียงแต่ว่าเนื้อหาที่บรรจุในวัสดุส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิง เช่น คอมพิวเตอร์ หรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์สิ่งเหล่านี้ถูกมองไปในรูปแบบของความบันเทิงแต่สามารถให้ความรู้ในเวลาเดียวกัน
3. อาคารสถานที่ (Settings) หมายถึง ตัวตึก ที่ว่าง สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลเกี่ยวกับทรัพยากรรูปแบบอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วและมีผลกับผู้เรียนด้วย สถานที่สำคัญในการศึกษา ได้แก่ตึกเรียนและสถานที่ที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยรวม เช่นห้องสมุด หอประชุม ส่วนสถานที่ต่างๆ ในชุมชนก็สามารถประยุกต์ให้เป็นทรัพยากรสื่อสารเรียน การสอนได้ เช่น โรงงาน ตลาด สถานที่ทางประวัติศาสตร์ เช่น พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
4. เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tools and Equipment) เป็นทรัพยากรทางการเรียนรู้เพื่อช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่นๆ ส่วนมากมักเป็น โสตทัศนูปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ที่นำมาใช้ประกอบหรืออำนวยความสะอาดในการเรียนการสอน เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร หรือแม้แต่ ตะปู ไขควง เหล่านี้เป็นต้น
5. กิจกรรม (Activities) โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนมักจัดขึ้นเพื่อร่วมกระทำทรัพยากรอื่นๆ หรือเป็นเทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน เช่น เกม การสัมมนา การจัดทัศนศึกษา กิจกรรมเหล่านี้มักมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ตั้งขึ้น โดยมีการใช้วัสดุการเรียนเฉพาะแต่ละวิชาหรือวิธีการพิเศษในการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
การจำแนกสื่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยยึดวัตถุประสงค์การเรียนการสอนและวิธีการสอน หรือเทคนิคการสอนที่ใช้ในระดับอุดมศึกษาเป็นเกณฑ์ มีรายละเอียดดังตารางที่ 1 ต่อไปนี้


ตารางที่ 1 การจำแนกสื่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา




จากสื่อการเรียนการสอนชนิดต่างๆ ที่ใช้ในเทคนิคการสอนแต่ละเทคนิค เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การ


เรียนการสอนในแต่ละด้านข้างต้น สามารถสรุปสื่อการเรียนการสอนได้เป็น 4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่างๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่ การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการและสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail : E-mail) และการใช้ WWW


คุณค่าของสื่อการสอน

สื่อการสอนนับว่าเป็นสื่อสำคัญในการเรียนรู้ เนื่องจากเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาจากผู้สอนไปยังผู้เรียน หรือเป็นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น สื่อ


ไพศาล สุวรรณน้อย, สื่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา [Online], 5 กันยายน 2553, แหล่งที่มาhttp://ednet.kku.ac.th/~paisan/media/edmedia.doc


การสอนจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้
สื่อกับผู้เรียน
สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้
- เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
- สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันหากเป็นเรื่องของนามธรรมและยากต่อความเข้าใจ และช่วยให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน
- สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย

- สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ และช่วย


กิดานัน มลิทอง, คุณค่าของสื่อการสอน [Online], 12 กันยายน 2553. แหล่งที่มา http://202.143.161.22/e-Learning_html/a009.html


แก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล จากการใช้สื่อรายบุคคล

สื่อกับผู้สอน
สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้สอนดังนี้
- การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น ทำให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
- ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำได้ และบางอาจให้นักศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
- เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลผลิตวัสดุและเรื่องราวใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม สื่อการสอนจะมีคุณค่าต่อเมื่อผู้สอนได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี ดังนั้น ก่อนที่จะนำสื่อแต่ละอย่างไปใช้ ผู้สอนควรจะศึกษาถึงลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอนข้อดีและข้อจำกัดอันเกี่ยวเนื่องกับตัวสื่อและการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตลอดจนการผลิตและการใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการการเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้



หลักการเลือกสื่อการสอน



การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำ ในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณา คือ
- สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
- มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่ให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
- เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
- มีความสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
- ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี
- มีความชัดเจนและเป็นจริง และ
- มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน

การตัดสินใจเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอนมีมากมายดังกล่าวข้างต้นแล้ว สื่อแต่ละชนิดจะมีข้อเด่นข้อด้อยและความเหมาะสมกับวิธีการสอนแต่ละวิธีแตกต่างกันไป ผู้สอนจึงจำเป็นต้องพิจารณาเลือกใช้สื่อให้เหมาะสม เพื่อให้มีประสิทธิภาพการเรียนการสอนสูงสุด ซึ่งมี แนวทางกว้าง ๆ ดังรูปที่ 16

การตัดสินใจเลือกใช้สื่อการสอน





รูปที่ 16 แสดงแผนผังการตัดสินใจเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน

การวางแผนการใช้สื่อการเรียนการสอน



Heinich, Molenda and Russell (1985) ได้เสนอโมเดลการวางแผนการใช้ สื่อการเรียนการสอน เรียกว่า ASSURE Model ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ผู้สอน เกิดความมั่นใจที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน รายละเอียดของโมเดลมีดังนี้
การวิเคราะห์ผู้เรียน (A : Analyze Learner Characteristic)
การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนการสอน (S : Stat Objective)
การเลือก ปรับปรุง การออกแบบสื่อการสอน (S : Select, Modify or Design Materials)
การใช้สื่อการเรียนการสอน (U : Utilize Materials)
การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม (R : Require Learner Response)
การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน (E : Evaluation)


การวิเคราะห์ผู้เรียน (A : Analyze Learner Characteristic)



การวิเคราะห์ผู้เรียน จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ คือ
1. ลักษณะทั่วไป เป็นลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน แต่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยตรง ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่เรียน ระดับสติปัญญา ความถนัด วัฒนธรรม สังคม ฯลฯ
2. ลักษณะเฉพาะ เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน ซึ่งจะมีผลต่อ การเลือกวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอน ได้แก่
2.1 ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน
2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่านและการใช้เหตุผล
2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือยัง



การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนการสอน (S : Stat Objective)



การเรียนการสอน แต่ละครั้งต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ซึ่งควรจะเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดความสามารถของผู้เรียนว่าจะทำอะไรได้บ้าง ในระดับใดและภายใต้เงื่อนไขใดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสม
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นสำหรับการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ควรให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยจะเน้นวัตถุประสงค์ด้านใดมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหา ที่สอนแต่ละครั้งไป



การเลือก ปรับปรุง การออกแบบสื่อการสอน (S : Select, Modify or Design Materials)



1. การเลือกสื่อการเรียนการสอo

ขั้นตอนนี้เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้วควรมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ คือลักษณะผู้เรียน วัตถุประสงค์การเรียนการสอน เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน และสภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิด

2. การปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน

ในกรณีที่สื่อการเรียนที่มีอยู่แล้วไม่เหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอน ให้พิจารณาว่าสามารถนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้หรือไม่ ถ้าปรับปรุงได้ก็ให้ปรับปรุงก่อนนำไปใช้


3. การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับปรุงใช้ หรือไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการใช้ในแหล่งบริการสื่อการเรียนการสอน ใดเลย ก็จำเป็นต้องออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่ การออกแบบก็ต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้


วัตถุประสงค์ : ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความรู้ เจตคติและทักษะใด
ผู้เรียน : มีความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนรู้หรือไม่
ราคา : มีงบประมาณในการผลิตมากน้อยเพียงใด
ฝ่ายเทคนิค : มีหรือไม่ในการผลิต
อุปกรณ์ : มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต้องใช้
ในการผลิตหรือไม่
เวลา : มีเวลาเพียงพอในการผลิตหรือไม่
การใช้สื่อการเรียนการสอน (U : Utilize Materials)
ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ
1. ทดลองใช้
ก่อนนำสื่อการเรียนการสอนใดมาใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจสอบและทดลองใช้ดูว่ามีปัญหาหรือไม่ ถ้ามีจะได้แก้ไขปรับปรุงได้ทัน คุณลักษณะของสื่อ วิธีการนำเสนอสื่อ
2. เตรียมสภาพแวดล้อม
การที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก แสง การระบายอากาศและอื่นๆ ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อการสอนแต่ละชนิด
3. เตรียมผู้เรียน
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ดีนั้น จะต้องมีการเตรียมผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องนั้น โดยการแนะนำสิ่งที่จะนำเสนอ อาจจะเป็นเรื่องย่อ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น การเร้าความสนใจ หรือเน้นจุดที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการฟังหรือดูสิ่งที่ผู้สอนนำเสนออันจะนำไปสู่ การเรียนรู้ที่ดีได้
4. การนำเสนอ
ผู้สอนที่ทำหน้าที่ผู้เสนอสื่อการเรียนการสอนนั้น จะต้องใช้เทคนิคการนำเสนอที่เรียกว่า AV Showmanship ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
4.1 ต้องทำตัวเป็นตัวกลางที่จะทำให้การนำเสนอครั้งนั้นประสบความสำเร็จ โดยการทำตัวให้เป็นธรรมชาติ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่เหมาะสมที่ติดเป็นนิสัย เช่น หักนิ้ว บิดข้อมือ กดปากกา พูดเสียง เอ้อ อ้า เพราะจะทำให้ผู้เรียนสนใจท่าทางเหล่านี้แทน
4.2 ท่าทางการยืน ต้องยืนหันหน้าให้ผู้เรียน ถ้ายืนเฉียงก็ต้องหันหน้าหาผู้เรียนไม่ควรหันข้างหรือหันหลังให้ผู้เรียน
4.3 ขณะที่บรรยายนำเสนอสื่อการเรียนการสอนต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้าง
4.4 ประเมินความสนใจของผู้เรียน โดยใช้การกวาดสายตามองผู้เรียนให้ทั่ว ทั้งชั้น ซึ่งเป็นการแสดงความสนใจผู้เรียน และวิเคราะห์สีหน้าท่าทางของผู้เรียนไปพร้อมกัน
4.5 อย่าใช้เวลาเตรียมสื่อนานเกินไป จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
4.6 นำเสนอให้ถูกวิธีตามที่ได้มีการทดลองใช้มาก่อนแล้ว


การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม (R : Require Learner Response)

การใช้สื่อในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด และในขณะเดียวกันผู้สอน ก็ต้องมีการเสริมแรงไปพร้อมๆ กันด้วย เช่น หลังจากการนำเสนอสื่อแล้ว อาจให้ผู้เรียนร่วมอภิปราย ทำแบบฝึกหัด ทำบทเรียนโปรแกรมหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับวิธีการสอนและสื่อการสอนที่ใช้ในแต่ละครั้ง


การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน (E : Evaluation)

หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนทราบว่า การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด สิ่งที่ต้องประเมินได้แก่ การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ
การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการสอนและการใช้สื่อการเรียนในครั้งต่อๆ ไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อควรคิดในการใช้สื่อการเรียนการสอน

เพื่อให้การใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละครั้งเกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนสูงสุด จึงขอเสนอข้อเตือนใจสำหรับผู้สอนให้ระลึกถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการใช้สื่อการเรียน การสอนดังนี้
ไม่มีสื่อการเรียนการสอนใดที่เหมาะสมกับทุกจุดประสงค์การเรียนการสอน
ควรใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนการสอนที่กำหนดไว้
ผู้ใช้สื่อการเยนการสอนจะต้องคุ้นเคยกับเนื้อหาและวิธีการนำเสนอของสื่อชนิดนั้นๆ
สื่อการเรียนการสอนจะต้องเหมาะสมกับวิธีสอนและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนจะต้องเหมาะสมกับสมรรถภาพ และวิธีการเรียนของผู้เรียน
สื่อการเรียนการสอนจะต้องให้ความเป็นรูปธรรม
ควรจัดสิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับสื่อการเรียนการสอนที่ใช้
ควรทดลองใช้สื่อการเรียนการสอนก่อนใช้และควรมีคู่มืออธิบายการใช้สื่อที่ชัดเจน

หลักการใช้สื่อการสอน
ภายหลังจากที่ผู้สอนได้เลือกและตัดสินใจแล้วว่า จะใช้สื่อประเภทใดบ้าง ในการสอน เพื่อให้เรียนสามารถเรียนรู้จากการถ่ายทอดเนื้อหาของสื่อนั้นได้ดีที่สุด ผู้สอนจำเป็นต้องมีหลักในการใช้สื่อการสอนตามลำดับดังนี้
- เตรียมตัวผู้สอน เป็นการเตรียมตัวในการอ่าน ฟังหรือดูเนื้อหาที่อยู่ในสื่อที่จะใช้ว่ามีเนื้อหาถูกต้อง ครบถ้วน และตรงกับที่ต้องการหรือไม่ ถ้าสื่อนั้นมีเนื้อหาไม่ควร ผู้สอนจะเพิ่มโดยวิธีใดในจุดไหนบ้าง จะมีวิธีใช้สื่ออย่างไร เช่น ใช้ภาพนิ่งเพื่อเป็นการนำบทเรียนที่จะสอน แล้วอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียนนั้น ต่อจากนั้นเป็นการให้ชมวีดีทัศน์เพื่อเสริมความรู้ และจบลงโดยการสรุปด้วยแผ่นโปร่งใสหรือสไลด์ในโปรแกรม PowerPoint อีกครั้งหนึ่ง ขั้นตอนเหล่านี้ผู้สอนต้องเตรียมตัวโดยเขียนลงในแผนการสอนเพื่อการใช้สื่อได้ถูกต้อง
- เตรียมจัดสภาพแวดล้อม โดยการจัดเตรียมวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม เตรียมสถานที่หรือห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เช่น มีปากกาเขียนแผ่นโปร่งใสพร้อมแผ่นโปร่งใส แถบวีดีทัศน์ที่นำมาฉายมีการกรอกกลับตั้งแต่ต้นเรื่องโทรทัศน์ต่อเข้ากับเครื่องเล่นวีดีทัศน์เรียบร้อย ที่นั่งของผู้เรียนอยู่ในระยะที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมและความพร้อมต่างๆ เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่นไม่เสียเวลา
- เตรียมพร้อมผู้เรียน เป็นการเตรียมผู้เรียนโดยมีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมในการฟังดูหรืออ่านเนื้อหาจากสื่อนั้นให้เข้าใจได้ดีและสามารถจับประเด็นสำคัญของเนื้อหาได้ หรือหากผู้เรียนมีการใช้สื่อด้วยตนเองผู้สอนต้องบอกวิธีการใช้ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ที่ผู้เรียนจะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง เช่น มีการทดสอบ การอภิปราย การแสดง หรือการปฏิบัติ เพื่อผู้เรียนจะเตรียมตัวได้ถูกต้อง
- การใช้สื่อ ผู้สอนต้องใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนที่เตรียมไว้แล้วเพื่อดำเนินการสอนได้อย่างราบรื่น และต้องควบคุมการเสนอสื่อให้ถูกต้อง เช่น การฉายวีดีทัศน์ ผู้สอนต้องปรับภาพที่ออกทางเครื่องรับโทรทัศน์ให้ชัดเจน ปรับเสียงอย่าให้ดังจนรบกวนห้องเรียนอื่นหรือค่อยเกินไปจนผู้เรียนที่นั่งอยู่หลังห้องไม่ได้ยิน ดูว่ามีแสงตกลงบนพื้นจอหรือไม่ หากใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะต้องปรับระยะเครื่องฉายไม่ให้ภาพเบี้ยว (keystone effect)
- การประเมินติดตามผล หลังจากมีการเสนอสื่อแล้ว ควรมีการประเมินและติดตามผลโดยการให้ผู้เรียนตอบคำถาม อภิปรายหรือเขียนรายงาน เพื่อเป็นการทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนและเรียนรู้จากสื่อที่เสนอไปนั้นอย่างถูกต้องหรือไม่ เพื่อผู้สอนจะได้สามารถทราบจุดบกพร่องและแก้ไขปรับปรุงการสอนของตนได้
ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน
การใช้สื่อการสอนนั้นอาจใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน หรือจะใช้ในทุกขั้นตอนก็ได้ ดังนี้
- ขั้นนำสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนสื่อที่ใช้ในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่แสดงเนื้อหากว้างๆ หรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเรียนในครั้งก่อนยังมิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกจริง อาจเป็นสื่อที่เป็นแนวปัญหาหรือเพื่อให้ผู้เรียนคิด และควรเป็นสื่อที่ง่ายต่อการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น เช่น ภาพ บัตรคำ หรือเสียง เป็นต้น
- ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะจะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียด เพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้สอนจึงต้องเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาและวิธีการสอนหรืออาจจะใช้สื่อประสมก็ได้ ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน การใช้สื่อในขั้นนี้จะต้องเป็นสื่อที่เสนอความรู้อย่างละเอียดถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เรียน เช่น ของจริง แผ่นโปร่งใส กราฟ วีดีทัศน์ แผ่นวีซีดี หรือการทัศนศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น
- ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียน ได้ทดลองนำความรู้ด้านทฤษฏีหรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยการลงมือฝึกปฏิบัติเอง สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหา เทปเสียง สมุดแบบฝึกหัด ชุดการเรียนหรือบทเรียนซีเอไอ เป็นต้น
- ขั้นสรุปบทเรียน เป็นการเน้นย้ำเนื้อหาให้มีความเข้าใจที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ขั้นสรุปนี้ควรใช้เพียงระยะเวลาน้อย เช่น แผนภูมิ โปร่งใส กราฟ เป็นต้น
- ขั้นประเมินผู้เรียน เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด และบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่สื่อในขั้นประเมินนี้มักจะเป็นคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจมีภาพประกอบด้วยก็ได้ หรือบัตรคำหรือสื่อที่ใช้ขั้นกิจกรรมการเรียนมาถามอีกครั้งหนึ่ง และอาจเป็นการทดสอบโดยการปฏิบัติจากสื่อหรือการกระทำของผู้เรียน

ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการสอน

สื่อการสอนประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย
วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิควิธีการ
ตารางที่ 2 สื่อการสอนประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (จำแนกตามวัสดุ อุปกรณ์และเทคนิควิธีการ

วัสดุ/ อุปกรณ์/ วิธีการ

ข้อดี

ข้อจำกัด

สิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือ ตำราเรียน คู่มือ วารสาร ฯลฯ


- เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด วิธีหนึ่ง
- สามารถอ่านได้ตามอัตรา

ความสามารถแต่ละบุคคล
- เหมาะสำหรับการอ้างอิง

- สะดวกในการพกพา

- ทำสำเนาจำนวนมากได้ง่าย


- ถ้าจะให้ได้สิ่งพิมพ์ที่คุณภาพดีต้อง


ใช้ต้นทุนในการผลิตสูง
- บางครั้งต้องพิมพ์ใหม่เพื่อ


ปรับปรุงข้อมูลที่ล้าสมัย
- ผู้ที่ไม่รู้หนังสือไม่สามารถอ่าน


หรือทบทวนให้เข้าใจได้


- ไม่สะดวกในการแก้ไขปรับปรุง



ของจริง ของตัวอย่าง


- แสดงภาพได้ตามความเป็นจริง
- สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส ทั้งห้า

- สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้


- บางครั้งอาจจะลำบากในการจัดหา
- ของบางสิ่งอาจมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำมาแสดงได้
- บางครั้งของนั้นอาจมีราคาสูงเกินไป
- ปกติเหมาะสำหรับ
- การเสนอต่อกลุ่มย่อย

- เก็บรักษาลำบาก



ของจำลอง หุ่นจำลอง ขนาดเท่า ย่อส่วน หรือขยายของจริง


- อยู่ในลักษณะ 3 มิติ
- จับต้องพิจารณารายละเอียดได้
- เหมาะในการนำเสนอที่ไม่สามารถมอง


เห็นได้ด้วยตาเปล่า


(เช่น ลักษณะของอวัยวะภายในร่างกาย)


- สามารถใช้แสดงหน้าที่และ


ลักษณะส่วนประกอบ
- ช่วยในการเรียนรู้และ


การปฏิบัติทักษะชนิดต่างๆ


- หุ่นบางอย่างสามารถผลิต


ได้ด้วยวัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่าย


- ต้องอาศัยความชำนาญ

ในการผลิตส่วนมากจะราคาแพง
- ปกติเหมาะสำหรับการแสดงต่อ กลุ่มย่อย

- ถ้าทำได้ไม่เหมือนของจริงทุกประการ

อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้



วัสดุกราฟิก เช่น แผนภูมิ แผนภาพ กราฟ การ์ตูน ภาพถ่าย ภาพวาด


- ช่วยในการชี้ให้เห็น

ความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา
- ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
- จัดหาได้ง่ายจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ
- ผลิตได้ง่ายและสามารถผลิตได้จำนวนมาก

- เก็บรักษาง่ายด้วยวิธีผนึกภาพ


- เหมาะสำหรับการเรียนในกลุ่มเล็ก
- งานกราฟิกที่มีคุณภาพดี จำเป็น

ต้องใช้ช่างเทคนิคที่มีความชำนาญ ในการผลิต

- การใช้ภาพบางประเภท เช่นภาพ

ตัดส่วน (sectional drawings)

หรือภาพการ์ตูนอาจไม่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเกิด

ความเข้าใจดีขึ้นเพราะไม่สามารถสัมพันธ์กับของ จริงได้



กระดานชอล์ก
กระดานขาว


- ต้นทุนในการผลิตต่ำ
- เขียนงานกราฟิกได้หลายชนิด

- ช่วยในการสร้างความเข้าใจ

ตามลำดับเรื่องราวเนื้อหา


- ผู้สอนต้องหันหลังให้กลุ่มผู้เรียน

เมื่อเขียนกระดานทำให้ไม่สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดี
- สามารถอ่านข้อความบนกระดาน

ได้ไม่ไกลมากนัก ทำให้กลุ่มผู้เรียนมีจำนวนจำกัด
- ภาพ หัวข้อ หรือประเด็น

คำบรรยายต้องถูกลบไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก

- ผู้สอนต้องมีความสามารถในการเขียนกระดานพอสมควร



กระดานผ้าสำลีและกระดาน


- สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก

- วัสดุในการผลิตหา


- ไม่เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่



แม่เหล็ก


ง่ายและสามารถผลิตได้เอง

- เหมาะสำหรับแสดงความ

เกี่ยวกันของลำดับขั้นตอนเนื้อหา
- ช่วยดึงดูดความสนใจ

- สามารถให้กลุ่มผู้เรียนร่วม

ใช้เพื่อสร้างความสนใจ






การจัดทัศนศึกษานอกสถานที่


- ผู้เรียนสามารถสังเกตการณ์และ

มีส่วนร่วมได้ด้วยตนเอง
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมทำงานเป็นกลุ่ม

และสร้างสรรค์ความรับผิดชอบร่วมกัน

- สามารถจูงใจเป็นรายบุคคลได้ดี


- ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
- จัดเฉพาะผู้เรียนกลุ่มย่อย

- ต้องเตรียมการและวางแผนโดยละเอียดรอบคอบ



เกม


- ดึงดูดความสนใจ

ให้สนุกในกิจกรรมการเรียน
- มีความแปลกใหม่แตกต่างไปจาก

การเรียนปกติ
- สร้างบรรยากาศให้รู้สึกพอใจ

และผ่อนคลายแก่ผู้เรียน

- ดึงความสนใจในงานที่ต้องทำซ้ำๆ กัน

ได้ดีกว่าการเรียนด้วยการฝึกฝนธรรมดา


- กิจกรรมที่มีการ

แข่งขันจะใช้ไม่ได้ผลกับ

ผู้เรียนที่ไม่มีความชำนาญหรือไม่ชอบการแข่งขัน
- เกิดความไขว้เขวได้ง่าย

จึงต้องอธิบายกฎเกณฑ์และวิธีการเล่นอย่างถูกต้อง

- ต้องระวังในการเลือกเกมที่มีการออกแบบ

ให้ตรงกับทักษะ ในการเรียน



การจำลอง(simulation)

เช่น บทบาทสมมุติเครื่องจำลอง


- มีการฝึกปฏิบัติทักษะในโลกของจริงภาย

ใต้สภาวะที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง

- ฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย

ได้โดยไม่เสี่ยงอันตรายต่อการบาดเจ็บหรือ

เสียชีวิต

- การจำลองมีแต่เฉพาะลักษณะสำคัญ

ของสถานการณ์โดยละทิ้งรายละเอียดต่างๆ เพื่อใช้ได้อย่างสะดวกไม่ยุ่งยากแก่ความเข้าใจ


- ผู้เรียนต้องใช้เวลามากในสถานการณ

์ของปัญหาและทดลองด้วยวิธีการต่างๆ

- การให้เรียนในสภาวะจำลองที่ง่ายกว่า

ความเป็นจริงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด

ได้ถ้าต้องเผชิญกับสถานการณ์ในชีวิต

จริงที่ไม่ง่ายดายเหมือนที่เคยปฏิบัติมา



การจัดนิทรรศการ


- เป็นการให้การศึกษาเพื่อการเรียนร

ู้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีครูบรรยาย
- เร้าให้เกิดความสนใจใฝ่รู้ ในเรื่องราวที่เสนอ
- ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ใน

การจัดสื่อประกอบเนื้อหาบทเรียนที่จะนำเสนอ

- เสริมสร้างความรับผิดชอบ

ของแต่ละบุคคลและสร้างความสามัคคีในกลุ่ม


- สถานที่จัดอาจไม่เหมาะสมทำ

ให้ไม่มีผู้ชมมากเท่าที่ควร
- อาจมีงบประมาณไม่เพียงพอทำให้

ไม่สามารถจัดหาสื่อได้ตามต้องการ

- หากขาดการประชาสัมพันธ์ที่จูงใจ

จะทำให้มีผู้ชมน้อยส่งผลให้การจัด

ไม่ประสบผลตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้



การสาธิต


- การนำเสนอการปฏิบัติและกรรม


วิธีให้เห็นอย่างเป็นขั้นตอนได้ชัดเจน
- ใช้สอนทักษะได้เป็นอย่างดี
- สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนมีการรับรู้ร่วมกัน
- กระตุ้นให้มีการซักถามและปฏิบัติตามขั้นตอนได้


- ผู้สอนต้องมีทักษะความชำนาญ

ในวิธีการสาธิตเป็นอย่างดีจึงจะสามารถ

ดำเนินการได้อย่างราบรื่น
- อาจเสียค่าใช้จ่ายสูง

- อาจไม่สามารถหาสถานที่

ที่เหมาะสมในการสาธิตได้



การสอนแบบโปรแกรม


- ผู้เรียนสามารถเรียนตามความสามารถของตน

- ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมอย่าง

กระฉับกระเฉงในการเรียนและได้รับผลป้อนกลับทันที
- ให้รูปแบบการเรียนรู้ที่เชื่อถือได้

- ให้ประสิทธิผลสูงกว่าการสอนแบบธรรมดา


- ต้องการออกแบบการเรียนที่ด

ีโดยผู้เชี่ยวชาญจึงจะทำให้การเรียน

มีประสิทธิภาพสูงสุดได้

- การเรียนในบทเรียนเดียวซ้ำๆ กัน

อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายได้

- เป็นลักษณะการสอนรายบุคคลจึงอาจ

ทำให้ผู้เรียนขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม







สื่อการเรียนการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย
วัสดุและอุปกรณ์ประเภทเสนอภาพนิ่ง
ตารางที่ 3 สื่อการเรียนการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย (จำแนกเป็นวัสดุและอุปกรณ์ประเภทเสนอภาพนิ่ง





วัสดุ/ อุปกรณ์


ข้อดี


ข้อจำกัด



โทรทัศน์วงจรปิด


- เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มเล็ก


และกลุ่มใหญ่

- ใช้ถ่ายทอดเหตุการณ์หรือการสอน


ที่ผู้เรียน/ผู้ชมไม่สามารถรวม


กันอยู่ในบริเวณที่เรียน/ที่ชมพร้อมกันได้


- สามรถใช้ร่วมกับวีดี


ทัศน์ในการ ส่งภาพได้


- รับภาพได้เฉพาะในบริเวณ


ที่กำหนดไว้เท่านั้น

- ถ้าต้องการถ่ายทอดภาพหลาย

จุดต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

จอภาพในบริเวณต่างๆ



โทรทัศน์วงจรเปิด


- สามารถใช้ได้กับผู้เรียนหรือผู้ชมไม่จำกัดจำนวน และสามารถแพร่สัญญาณไปได้ในระยะไกลๆ

- ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน

- เหมาะสำหรับการใช้จูงใจ สร้างทัศนคติและเสนอปัญหาให้ผู้เรียนคิดหรือเสริมสร้างการอภิปรายร่วมกัน

- ช่วยลดภาระของผู้สอนคือ แทนที่จะต้องบรรยายหลายครั้งหรือหลายแห่งในหัวข้อเดียวกันต่อผู้เรียนหลายกลุ่ม ก็ใช้การแพร่สัญญาณไปยังที่ต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน


- การจัดรายการที่ดีต้องใช้ต้นทุนสูงมาก


และต้องใช้ช่างเทคนิค ในการผลิตรายการ

- เป็นสื่อสารทางเดียว


ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถถามข้อสงสัยได้ในทันที


และผู้สอนไม่สามารถทราบ


การตอบสนองของผู้เรียนได้

- รายการที่เสนออาจไม่ตรง

กับตารางสอนหรือบทเรียน



วีดีทัศน์


- สามารถใช้ได้กับผู้เรียนกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่

- สามารถซ้ำเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจ หรือทบทวน

- แสดงการเคลื่อนไหวของภาพประกอบเสียงที่ให้ความรู้สึกใกล้เคียงของจริงมาก


- ต้นทุนอุปกรณ์และการผลิต


ที่มีคุณภาพดีมีราคาสูง


และต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิต/จัดรายการ

- ตัวอักษรที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์


มีขนาดเล็กอ่านยาก

- แถบเทปเสื่อมสภาพได้ง่าย



แผ่นดีวีดี (DVD: digital versatile disc)


- แผ่นมีความจุตั้งแต่ 4-17 GB


ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์


ได้ทั้งเรื่องโดยไม่ต้องเสีย


เวลาเปลี่ยนแผ่นใหม่ขณะเล่น

- คุณภาพของภาพบน


แผ่นดีวีดีให้ความคมชัดมาก


โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแถบวีดีทัศน์

- ให้เสียงดอลบีเซอร์ราวด์ช่วยให้การ


ชมภาพยนตร์มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น

- เลือกชมตอนใดของภาพยนตร์โดย


ไม่ต้องเรียงตามเนื้อเรื่อง

- เลือกเสียงได้หลายภาษา


- ไม่ยึดหรือเสียหายง่ายเหมือน แถบเทป

- สามารถทำความสะอาด


ได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น


- เครื่องเล่นสามารถเล่นได้ทั้งแผ่น


ซีดีแผ่นวีซีดีและแผ่นดีวีดี


- คุณภาพของภาพบนแผ่น


วีซีดีให้ความคมชัดมากกว่าแถบวีดีทัศน์

- ไม่มีการยึดเหมือนแถบวีดีทัศน์

- เครื่องเล่นแผ่นวีซีดีสามารถเล่นแผ่นซีดีได้


- ทำความสะอาดได้


ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น


- แผ่นดีวีดีคุณภาพ


ดียังมีราคาสูงพอควร

- การบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นต้อง


ใช้อุปกรณ์ราคาสูงพอควร

- ผู้ใช้อาจไม่สะดวกในการบันทึก


ภาพยนตร์ลงแผ่นได้เอง


- ผู้ใช้อาจไม่สะดวกในการบันทึก


ภาพยนตร์ลงแผ่น


ได้เองเหมือนการใช้แถบวีดีทัศน์

- แผ่นมาตรฐานสูงไม่สามารถ

ใช้เล่นเครื่องเล่นมาตรฐาน

ธรรมดาได้






สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย
วัสดุและอุปกรณ์ประเภทเสนอภาพเคลื่อนไหว



ตารางที่ 4 สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย (จำแนกเป็นวัสดุและอุปกรณ์ประเภทเสนอภาพเคลื่อนไหว)








วัสดุ/ อุปกรณ์


ข้อดี


ข้อจำกัด



โทรทัศน์วงจรปิด


- เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่

- ใช้ถ่ายทอดเหตุการณ์หรือการ

สอนที่ผู้เรียน/ผู้ชมไม่สามารถรวม

กันอยู่ในบริเวณที่เรียน/ที่ชมพร้อมกันได้

- สามรถใช้ร่วมกับวีดี

ทัศน์ในการ ส่งภาพได้


- รับภาพได้เฉพาะในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น

- ถ้าต้องการถ่ายทอดภาพหลายจุด

ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ

ติดตั้งจอภาพในบริเวณต่างๆ



โทรทัศน์วงจรเปิด


- สามารถใช้ได้กับผู้เรียนหรือผู้ชมไม่จำกัดจำนวน และสามารถแพร่สัญญาณไปได้ในระยะไกลๆ

- ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน

- เหมาะสำหรับการใช้จูงใจ

สร้างทัศนคติและเสนอปัญหา

ให้ผู้เรียนคิดหรือเสริมสร้างการอภิปรายร่วมกัน

- ช่วยลดภาระของผู้สอนคือ

แทนที่จะต้องบรรยายหลายครั้ง

หรือหลายแห่งในหัวข้อเดียวกันต่อผู้เรียนหลายกลุ่ม ก็ใช้การแพร่สัญญาณไปยังที่ต่างๆ

ได้ในเวลาเดียวกัน


- การจัดรายการที่ดีต้อง

ใช้ต้นทุนสูงมากและต้องใช้ช่างเทคนิค

ในการผลิตรายการ

- เป็นสื่อสารทางเดียว

ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถถาม

ข้อสงสัยได้ในทันที และผู้สอนไม่สามารถทราบ

การตอบสนองของผู้เรียนได้

- รายการที่เสนออาจไม่ตรง

กับตารางสอนหรือบทเรียน



วีดีทัศน์


- สามารถใช้ได้กับผู้เรียนกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่

- สามารถซ้ำเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจ หรือทบทวน

- แสดงการเคลื่อนไหวของภาพ

ประกอบเสียงที่ให้ความรู้สึกใกล้เคียงของจริงมาก


- ต้นทุนอุปกรณ์และ

การผลิตที่มีคุณภาพดีมีราคาสูง

และต้องใช้ช่างเทคนิค

ในการผลิต/จัดรายการ

- ตัวอักษรที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์ มีขนาดเล็กอ่านยาก

- แถบเทปเสื่อมสภาพได้ง่าย



แผ่นดีวีดี (DVD: digital versatile disc)


- แผ่นมีความจุตั้งแต่ 4-17 GB. ทำให้สามารถบันทึก

ภาพยนตร์ได้ทั้งเรื่องโดย

ไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนแผ่นใหม่ขณะเล่น

- คุณภาพของภาพบนแผ่นดีวีดีให้ความคมชัดมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแถบวีดีทัศน์

- ให้เสียงดอลบีเซอร์ราวด์ช่วย

ให้การชมภาพยนตร์มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น

- เลือกชมตอนใดของภาพยนตร์

โดยไม่ต้องเรียงตามเนื้อเรื่อง

- เลือกเสียงได้หลายภาษา

- ไม่ยึดหรือเสียหายง่ายเหมือน

แถบเทป

- สามารถทำความสะอาด

ได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น

- เครื่องเล่นสามารถเล่น

ได้ทั้งแผ่นซีดีแผ่นวีซีดีและแผ่นดีวีดี


- แผ่นดีวีดีคุณภาพดียังมีราคาสูงพอควร

- การบันทึกภาพยนตร์ลงแผ่นต้อง

ใช้อุปกรณ์ราคาสูงพอควร

- ผู้ใช้อาจไม่สะดวกในการบันทึก

ภาพยนตร์ลงแผ่นได้เอง



แผ่นวีซีดี (vcd:video-compact disc)


- คุณภาพของภาพบนแผ่นวีซีด

ีให้ความคมชัดมากกว่าแถบวีดีทัศน์

- ไม่มีการยึดเหมือนแถบวีดีทัศน์

- เครื่องเล่นแผ่นวีซีดีสามารถเล่นแผ่นซีดีได้

- ทำความสะอาดได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น


- ผู้ใช้อาจไม่สะดวกในการบันทึก

ภาพยนตร์ลงแผ่นได้เองเหมือนการใช้แถบวีดีทัศน์

- แผ่นมาตรฐานสูงไม่สามารถ

ใช้เล่นเครื่องเล่นมาตรฐานธรรมดาได้







สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียง
ตารางที่ 5 สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียง








วัสดุ/ อุปกรณ์


ข้อดี


ข้อจำกัด



วิทยุ


- สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ หรือรายบุคคล

- ระยะกระจายเสียงกว้างและถ่ายทอดได้ในระยะไกลๆ

- ลดภาระของผู้สอนหรือผู้บรรยาย ในการเดินทางไปสอนในที่ต่างๆ

- ให้ความรู้แก่ผู้ที่ไม่สามารถอ่านเขียนจากใช้ทักษะในการฟังเพียง อย่างเดียว

- ดึงดูดความสนใจได้ดี

- เครื่องรับวิทยุราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้


- สามารถใช้กับสื่ออื่น


เช่น สิ่งพิมพ์


- ต้องใช้ห้องที่ทำขึ้นเฉพาะ เพื่อ การกระจายเสียง

- ผู้ฟังหรือเรียนต้องปรับตัวเข้าหารายการ เนื่องจากผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้าหาผู้ฟังได้

- เป็นการสื่อสารทางเดียวทำให้ผู้บรรยาย

ไม่สามารถทราบปฏิกิริยาสนองกลับของผู้ฟัง



เทปบันทึกเสียง


- ใช้ได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน

- เหมาะสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือกับกลุ่มย่อย

- การเปิด/ปิด/เดินหน้า ย้อนกลับสามารถทำได้สะดวก

- ต้นทุนการผลิตต่ำ อุปกรณ์ราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้

- ใช้ได้หลายสภาวการณ์ เช่น ใช้ประกอบสไลด์ ใช้บันทึกเสียงที่ไม่สามารถฟังได้ทั่วถึง เช่น ฟังการเต้นของหัวใจ เป็นต้น


- การบันทึกเสียงที่คุณภาพดีจำเป็นต้อง


ใช้ห้องและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพสูง

- ต้องมีความชำนาญพอสมควรในการตัดต่อเทป

- ต้องระมัดระวังในการเก็บรักษา



แผ่นซีดี (CD : compact disc)


- บันทึกเสียงประเภทต่างๆในระบบดิจิทัลที่ให้ความคมชัดมาก


- เรียกค้นข้อมูลเสียงได้รวดเร็ว

- มีความทนทานใช้งานได้นาน

- ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา


- ไม่สามารถบันทึกได้ถ้าใช้แผ่น ซีดีอาร์ (CD-R)


- เครื่องเล่นมีราคาสูงกว่าเครื่องเล่นเทปเสียง







สื่อประสมเชิงโต้ตอบ (Interactive Multimedia)
ตารางที่ 6 สื่อประสมเชิงโต้ตอบ (Interactive Multimedia)





วัสดุ/ อุปกรณ์


ข้อดี


ข้อจำกัด



คอมพิวเตอร์


- ใช้งานได้หลายประเภท เช่นคำนวณ


จัดเก็บฐานข้อมูล งานกราฟิก จัดหน้าสิ่งพิมพ์

- ใช้แก้ปัญหาต่างๆที่ซับซ้อน

- เสนอข้อมูลได้หลายประเภท


- มีการโต้ตอบกับผู้เรียน


- สามารถบันทึกข้อมูลเก็บ


ไว้ในหน่วยความจำอื่น เช่น แผ่นซีดี

- ใช้ร่วมกับโมเด็มหรือแบบไร้สายเพื่อ


ใช้บนอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสาร


ข้อมูลกับฐานข้อมูลอื่นๆได้ทั่วโลก

- ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารได้ เช่น


การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)


การประชุมทางไกล ฯลฯ

- เครื่องกระเป๋าหิ้วและแบบมือถือมีขนาด

เล็กเหมาะแก่การพกพาไปใช้ในที่ต่างๆ ได้


- เครื่องที่มีสมรรถนะการใช้งานสูง


จะมีราคาสูงพอสมควร

- ต้องมีการบำรุงรักษาตามระยะเวลา


- ต้องใช้กับโปรแกรมซอฟต์แวร์ประเภท


ต่างๆ จึงจะใช้งานได้

- มีการเปลี่ยนแปลงด้านอุปกรณ์ เช่น ความเร็วต่างๆจนทำให้เครื่องที่มีอยู่ล้าสมัยได้เร็ว



บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน (ซีเอไอ) (computer-assisted instruction : CAI)


- ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ


กับบทเรียนได้

- ให้ผลป้อนกลับได้ในทันที


- มีรูปแบบบทเรียนให้


เลือกใช้มากมาย


เช่น การสอน ทบทวน เกม การจำลอง

- เสนอบทเรียนได้ทั้งลักษณะตัวอักษรภาพ และเสียง

- ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหา


บทเรียนและทำกิจกรรมได้ตามความ


สามารถของตนในลักษณะการศึกษารายบุคคล


- ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมบทเรียน


- โปรแกรมซอฟต์แวร์บางประเภท ]


มีราคาสูงพอควร



แผ่นซีดี ซีดีอาร์ และซีดีอาร์ดับเบิลยู (CR-Rom,CD-R,CD-RW)


- สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 700 เมกะไบต์

- บันทึกข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร


ภาพนิ่ง กราฟิก แอนนิเมชัน


เคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์และเสียง

- ไม่มีการเผลอลบข้อมูลที่บันทึก ไว้แล้ว


- ค้นข้อมูลได้เร็วและถูกต้อง

- มีอายุการใช้งานนานและยากแก่ การบุบสลาย

- ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา


- แผ่นซีดีรอมและแผ่นซีดีอาร์จะ


ไม่สามารถบันทึกทับข้อมูลเดิมได้

- ต้องใช้เล่นร่วมกับคอมพิวเตอร์







รูปแบบและวิธีการการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน
ตารางที่ 7 รูปแบบและวิธีการการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน





รูปแบบ/ วิธีการ


ข้อดี


ข้อจำกัด



สื่อหลายมิติ (hypermedia)


- สามารถอ่านเนื้อหา


ในตอนใดที่ต้องการได้โดย


ไม่ต้องเรียงตามลำดับเชื่อมโยงข้อมูลได้สะดวก

- เนื้อหาบทเรียนมีทั้งภาพกราฟิก


ภาพวีดีทัศน์ เสียงพูด เสียงดนตรี


- ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับ


บทเรียนและได้รับผลป้อนกลับทันที


- ต้องใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูง


ในการผลิตบทเรียน


- ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ


ในการสร้างบทเรียน

- ต้องใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์คุณภาพสูง

- การผลิตบทเรียนที่ดีต้อง

ใช้อุปกรณ์ร่วมหลายอย่าง

เช่น เครื่องเสียง กล้องดิจิตอล



อินเทอร์เน็ต (Internet)


- ค้นคว้าข้อมูลได้ทั่วโลก

- ติดตามข่าวสารความรู้ได้อย่างรวดเร็ว

- สนทนากับผู้ที่อยู่ห่างไกล

- รับส่งไปรษณีย์ รูปแบบข้อความ ภาพและเสียงได้

- ใช้ในการเรียนการสอนได้มากมายหลาย

รูปแบบ เช่นการสอนบนเว็บทางไกล


- ข้อมูลที่ได้อาจไม่ถูกต้องเพราะ


ไม่มีใครรับรอง

- ต้องมีการศึกษาใช้งานเพื่อสืบค้นข้อมูล


- ประชาชนไม่


มีความรู้ด้านไอที



เวิลด์ไวด์เว็บ

(World Wide Web)


- ผู้เรียนใช้ได้ทุกคน

- เป็นเทคโนโลยีราคาถูก

- ผู้เรียนด้วยเว็บสามารถเรียน ณ ที่ใดที่หนึ่งได้สะดวก

- สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับ ผู้สอนได้


- การสื่อสารยังใช้แบนด์วิดท์แคบ


ทำให้สื่อสารการสอน


ที่ส่งบนเว็บจำกัดอยู่เพียง


ข้อความและภาพนิ่งเป็นส่วนมาก

- ไม่เหมาะกับวัฒนธรรมบาง


ประเทศที่เคร่งต่อประเพณีเก่า

- ผู้เรียนอาจได้ดูเว็บไม่ปกติ



ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)


- ช่วยในเรื่องของเวลา

- เปิดโอกาสให้สอบถามเป็นการส่วนตัว


- สามารถแบ่งปันข้อมูลกันได้


- ไม่สามารถแสดงความรู้สึกที่


เป็นธรรมชาติได้

- อาจเกิดความผิดพลาดในเวลา ที่ไม่ต่อเนื่อง



การสอนบนเว็บ WBI : (web-based instruction)


- ขยายโอกาสให้ผู้เรียนรอบโลก

- เรียนด้วยการสื่อสารหลายแบบ

- มีการเรียนทั้งแบบประสานเวลา

และแบบไม่ประสานเวลา


- ผู้สอนและเรียนอาจไม่พบหน้ากันเลย


อาจทำให้ผู้เรียนบางคนอึดอัด


และไม่สะดวกในการเรียน

- ใช้เวลาเตรียมการสอนมากกว่า


- ผู้เรียนต้องรู้จักควบคุมการ


เรียนของตนเองให้ประสบ


ผลสำเร็จได้



การส่งสัญญาณ ผ่านดาวเทียม


- ถึงแม้จะมีการลงทุนค่อนข้างสูง


ในเบื้องต้นในเรื่องของห้องสตูดิโอ


และอุปกรณ์รับสัญญาณแต่สิ่งเหล่านี้ไม่เป็น


สิ่งเปลืองเหมือน วัสดุอื่น

- เป็นการลงทุนอย่างคุ้มค่าเมื่อเทียบกับ


ความสามารถในการรับบทเรียนและ


การสอนเพื่อผู้เรียนกลุ่มใหญ่

- การบรรยายบทเรียนเป็นมาตรฐาน


เดียวกันสำหรับผู้เรียนทุกแห่ง

- สามารถใช้รูปแบบการสื่อสารสองทาง

เมื่อใช้ร่วมกับโทรศัพท์


- ต้องใช้ทุนสูงในการเริ่มต้น


รวมถึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ


ด้านเทคนิคในการดำเนินในการดำเนินงาน

- หากเป็นการรับสัญญาณผ่าน


โทรทัศน์จะไม่มีลักษณะ


การยืดหยุ่นในเรื่องของเวลา


และสถานที่ เหมือนการเรียนบนเว็บ


- ความจำเป็น


ในการอำนวยความสะดวก


ในการเรียนการสอน


การรักษาความปลอดภัย


ต้องเพิ่มงบประมาณมากขึ้นกว่าปกติ



การประชุมทางไกลด้วยวีดีทัศน์


- ประหยัดเวลาในการเดินทางของผู้สอน

- ผู้สอนไม่จำเป็นต้องปรับวิธีการ


สอนมากนักจากวิธีการเรียนใน ชั้นเรียน

- ส่งภาพและเสียงไปพร้อมกันได้


- ต้องใช้ต้นทุนสูง


ต้องปรับปรุงห้องเรียน


เช่น มีแสงเพียงพอ ระบบเสียงดี


- หากรับภาพทางอินเทอร์เน็ตต้อง


ใช้กล้องที่มีคุณภาพสูง


เพื่อส่งภาพที่มีคุณภาพและมีราคาสูง



เทคโนโลยีไร้สาย


- ระบบเคลื่อนที่ทำให้คล่องตัวในการใช้งาน


ผู้สอนเป็นอิสระในการเดินดูผู้เรียนทั่วห้อง


และผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ทุก


สถานที่ไม่จำเป็นต้องนั่งเฉพาะ ในห้องเรียน

- เกิดความยืดหยุ่นในการเรียน


การสอนทั้งรูปแบบและวิธีการ

- เชื่อมต่อเว็บได้ทันทีเพื่อการสื่อสารและความร่วมมือใน


การทำงาน

- เพิ่มความสามารถในการทำงานด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม

- สื่อสารด้วยเสียงบนอินเทอร์เน็ต


- ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่เสียค่าเดินสายเคเบิลในอาคาร


และบริเวณโดยรอบ


- อุปกรณ์ไร้สายจะมีราคาสูงกว่าอุปกรณ์ใช้สาย

- ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในเรื่อง


ของการ์ดเพื่อการสื่อสารหาก


ใช้คอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ไม่มีเสาอากาศไร้สาย







แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 สื่อการเรียนการสอน


คำชี้แจง
ข้อที่ 1 ให้ท่านศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอเป็นรูปเล่มรายงาน และรวบรวมเป็นไฟล์ข้อมูล ส่งยังเว็บไซต์ครูสอนดี (อาจารย์แจ้ง) มายังผู้สอน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องและความสอดคล้องกับคำถามต่อไปนี้ พร้อมทั้งบอกแหล่งที่มาของข้อมูลเหล่านี้ด้วย
อธิบายความหมายของคำว่า “สื่อการเรียนการสอน”
บอกประเภทของสื่อการเรียนการสอนตามที่ท่านเข้าใจ
อธิบายหลักการเลือกใช้สื่อการสอน
อธิบายประเภทและคุณสมบัติของสื่อ
อธิบายรูปแบบและวิธีการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอน

ข้อที่ 2 ให้นักศึกษาออกข้อสอบแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น