ปัญหาและความเป็นมาของปัญหา


เวลา 14.00 น. นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิ ชัยพัฒนา เป็นประธานงานแถลงข่าวการประกวดออกแบบสิ่งประดิษฐ์กังหันลม เทคโนโลยีต่ำเพื่อการสูบน้ำในพื้นที่โครงการของมูลนิธิชัยพัฒนา ณ ห้องประชุม 101 อาคารสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร สืบเนื่องจากในระยะที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบปัญหาน้ำท่วมมาโดยตลอด รวมถึงพื้นที่โครงการต่างๆของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยเฉพาะที่โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนแก้มลิง ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในแต่ละปีเมื่อน้ำท่วม โครงการต้องสูบน้ำออกซึ่งเกิดค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ดังนั้นหากสามารถสร้างนวัตกรรมกังหันลม โดยใช้พลังงานจากธรรมชาติทดแทนในการสูบน้ำออกจากโครงการ ก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก ก่อประโยชน์ไม่เพียงแต่เฉพาะโครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 เท่านั้น ยังรวมถึงโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนาที่มีอยู่ทั่วประเทศ และสถานที่สาธารณประโยชน์ต่างๆ ด้วย  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้พระราชทานพระราชานุมัติให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา จัดการประกวดประสิ่งประดิษฐ์กังหันลมเทคโนโลยีลมต่ำ เพื่อนำไปใช้ในการสูบน้ำในพื้นที่โครงการของมูลนิธิชัยพัฒนา รวมถึงสถานที่สาธารณประโยชน์อื่นๆ โดยได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ กลุ่มบริษัท โฆษะ กรุ๊ป โดยการประกวดครั้งนี้นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการใช้พลังงานจากธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักประดิษฐ์รุ่นใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือแม้กระทั่งประชาชนทั่วไป ได้แสดงฝีมือและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินรอยตามพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทยอีกด้วย ในการจัดงานแถลงข่าวครั้งนี้ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้เรียนเชิญสถาบันอุดมศึกษา และสถาบันอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมงานเพื่อรับฟังข้อกำหนดต่างๆของการประกวด โดยประเภทของสิ่งประดิษฐ์กังหันลมที่ส่งเข้าประกวด แบ่งเป็นกังหันลมแบบสูบน้ำด้วยพลังงานทางกล และกังหันลมแบบสูบน้ำด้วยพลังงานทางไฟฟ้า โดยเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ หรือพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่มีอยู่ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานการเคารพสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความเร็วลมในประเทศไทย มีขั้นตอนการทำงานที่ไม่ยุ่งยาก และใช้วัสดุที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก เส้นผ่านศูนย์กลางของกังหันลมต้องไม่เกิน 3 เมตร เพื่อนำไปประกอบกับเสาความสูง 12 เมตร ที่ได้จัดสร้างไว้แล้ว ณ โครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปทุมธานี
 ( มูลนิธิชัยพัฒนา :   5 พฤศจิกายน 2557 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น